วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาการส่งออกของข้าวหอมมะลิไทย


ปัญหาซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกข้าวของไทยในปัจจุบันมีหลายประการ ที่สำคัญได้แก่ ปัญหาการปลอมปนข้าวหอมมะลิซึ่งปัจจุบันปัญหาดังกล่าวได้แพร่กระจายออกไปยังต่างประเทศเนื่องจากนโยบายของทางการไทยที่ได้ตั้งมาตรฐานการส่งออกข้าวหอมมะลิไทยไว้ในระดับสูงโดยข้าวที่ส่งออกต้องมีความบริสุทธิ์ของข้าวหอมมะลิไม่ต่ำกว่าร้อยละ 92ทั้งนี้เพื่อรักษามาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยให้เป็นสินค้าที่มีคุณภาพสูงขณะเดียวกันก็เพื่อให้สามารถขายสินค้าได้ในราคาสูงด้วยจึงทำให้ผู้นำเข้าในประเทศต่างๆหาประโยชน์จากชื่อเสียงของข้าวหอมมะลิไทยโดยนำเข้าข้าวหอมมะลิไทยไปผสมกับข้าวชนิดอื่นๆที่มีคุณสมบัติคล้ายกันแต่มีราคาถูกกว่า เช่น ข้าวปทุมธานีหรือข้าวขาวชัยนาทแล้วจึงนำไปบรรจุถุงขายโดยระบุว่าเป็นข้าวหอมมะลิจากไทยและสามารถขายได้ในราคาที่ถูกลงถือเป็นการทำลายตลาดข้าวหอมมะลิของไทยอีกทั้งยังเป็นการสร้างความสับสนให้กับผู้บริโภคทั้งในด้านคุณภาพและราคาอันจะเป็นอุปสรรคต่อการขยายตลาดข้าวหอมมะลิในอนาคตนอกจากนี้ยังมีปัญหาที่ไทยจะต้องเผชิญ คือ ปัญหาการกีดกันทางการค้าทั้งมาตรการด้านภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษีจากประเทศคู่ค้าหลายรายเช่นออสเตรเลียซึ่งเป็นประเทศที่มีการกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบข้าวที่ค่อนข้างเข้มงวดอาทิการตรวจสารเคมีตกค้าง และการรมควันข้าวซึ่งหากพบความผิดปกติก็อาจถูกสั่งให้ทำลายข้าวล็อตนั้นในทันทีโดยผู้ส่งออกจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบและทำลายเองทำให้ต้นทุนของผู้ส่งออกสูงขึ้นตามไปด้วยอย่างไรก็ตามประเทศไทยยังประสบปัญหาเรื่องประสิทธิภาพการผลิตราคาและการส่งออกโครงสร้างพื้นฐานของการผลิตข้าวสภาพพื้นที่เพาะปลูกในพื้นที่นาน้ำฝนมักเป็นกระทงนาผืนเล็กผืนน้อย เนื่องจากพื้นที่สูงต่ำต่างระดับทำให้ใช้เครื่องมือทุ่นแรงยาก แม้แต่ในพื้นที่ชลประทานสภาพพื้นที่นาก็ยังไม่ได้รับการปรับสภาพให้เหมาะสมทำให้การใช้น้ำสิ้นเปลือง ประกอบกับพื้นที่ชลประทานมีจำกัดและสภาพความยากจนของชาวนาไทยทางด้านการตลาดแม้รัฐได้พัฒนาตลาดข้าวไทยให้มีระบบตลาดกลางข้าวเปลือกแล้ว แต่ก็ยังคงมีปัญหาได้แก่ ปัญหาการกระจายข้าวเปลือกของเกษตรกรที่อยู่กระจัดกระจายห่างไกลจากแหล่งซื้อขายและไม่สามารถแบกภาระค่าขนส่งได้ นอกจากนั้นก็ยังมีปัญหาการแปรรูปข้าวเปลือกในโรงสีสหกรณ์ที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ทำให้มีกำลังการผลิตน้อย นอกจากนี้ยังมีปัญหาราคาข้าวในตลาดโลกที่มักมีการผันผวนมาก บางครั้งผู้ส่งออกต้องซื้อข้าวในราคาสูง แต่ตอนขายกลับขายได้ในราคาต่ำ ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อราคารับซื้อข้าวจากชาวนา 


เนื้อหา
โดยข้าวหอมมะลิของไทยเป็นข้าวที่มีชื่อเสียงโด่งดังในตลาดโลกจากการที่เป็นข้าวคุณภาพสูงและมีลักษณะพิเศษโดดเด่นกว่าข้าวชนิดอื่นๆ คือมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติคล้ายใบเตยการผลิตมีปริมาณจำกัด โดยเพาะปลูกได้เพียงปีละ 1 ครั้งเมล็ดข้าวมีลักษณะยาวเรียวเมื่อนำไปปรุงให้สุกจะมีสีขาวนุ่มและมีรสชาติอร่อยเป็นที่นิยมของผู้บริโภค  จึงทำให้ข้าวหอมมะลิไทยได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในตลาดโลกแม้ว่าจะเป็นข้าวที่มีราคาสูงกว่าข้าวชนิดอื่นๆก็ตามจากเอกลักษณ์ดังกล่าวถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ข้าวหอมมะลิไทยสามารถขยายตลาดส่งออกได้โดยไม่ต้องเผชิญกับปัญหาการแข่งขันด้านราคากับสินค้าของประเทศคู่แข่งมากนัก  และจะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้การส่งออกข้าวหอมมะลิไทยสามารถขยายตัวเติบโตต่อไปได้ด้วยดีในตลาดโลกการส่งออกข้าวของไทย ข้าวนับว่าเป็นสินค้าที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบันประเทศไทยมีรายได้จากการส่งออกข้าวนับแสนล้านบาท และส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลกมาอย่างต่อเนื่อง 
อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังประสบปัญหาเรื่องประสิทธิภาพการผลิต ราคาและการส่งออก โครงสร้างพื้นฐานของการผลิตข้าว สภาพพื้นที่เพาะปลูก ในพื้นที่นาน้ำฝนมักเป็นกระทงนาผืนเล็กผืนน้อย เนื่องจากพื้นที่สูงต่ำต่างระดับ ทำให้ใช้เครื่องมือทุ่นแรงยาก แม้แต่ในพื้นที่ชลประทาน สภาพพื้นที่นาก็ยังไม่ได้รับการปรับสภาพให้เหมาะสม ทำให้การใช้น้ำสิ้นเปลือง ประกอบกับพื้นที่ชลประทานมีจำกัด และสภาพความยากจนของชาวนาไทย ทางด้านการตลาดแม้รัฐได้พัฒนาตลาดข้าวไทยให้มีระบบตลาดกลางข้าวเปลือกแล้ว แต่ก็ยังคงมีปัญหา ได้แก่ ปัญหาการกระจายข้าวเปลือกของเกษตรกรที่อยู่กระจัดกระจายห่างไกลจากแหล่งซื้อขายและไม่สามารถแบกภาระค่าขนส่งได้ นอกจากนั้นก็ยังมีปัญหาการแปรรูปข้าวเปลือกในโรงสีสหกรณ์ที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ทำให้มีกำลังการผลิตน้อย นอกจากนี้ยังมีปัญหาราคาข้าวในตลาดโลกที่มักมีการผันผวนมาก บางครั้งผู้ส่งออกต้องซื้อข้าวในราคาสูง แต่ตอนขายกลับขายได้ในราคาต่ำ ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อราคารับซื้อข้าวจากชาวนา
ข้าวถือเป็นสินค้าประเภท(โภคภัณฑ์) ที่ระดับราคาในตลาดโลกเป็นไปตามกลไกตลาด อย่างแท้จริง นั่นคือราคาตลาดโลกจะปรับขึ้นหรือลงย่อมขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทาน เมื่อใดที่อุปทานมากกว่าอุปสงค์ราคาในตลาดโลกก็จะปรับลดลง และถ้าปีใดอุปสงค์มากกว่าอุปทานราคาก็จะสูงขึ้น โดยทั่วไปตลาดข้าวในประเทศไทยจะมีความเชื่อมโยงกับตลาดโลกอย่าใกล้ชิด เมื่อใดที่สถานการณ์ตลาดโลกทำให้ราคาตลาดโลกเพิ่มขึ้นราคาข้าวในประเทศก็มีแนวโน้มปรับสูงตามไปด้วยเมื่อใดที่ราคาข้าวในประเทศไทยตกต่ำโดยมากจะเกิดในช่วงที่มีข้าวออกมามากพร้อมๆกันรัฐบาลก็จะใช้โครงการรับจำนำข้าเปลือก เพื่อพยุงราคาข้าวไว้โดยรัฐบาลจะรับซื้อข้าวเปลือกในราคาที่ประกาศ (เรียกว่าราคาประกัน) เพื่อดูดอุปทานข้าวออกจากตลาดซึ่งราคาประกันแต่ละปีก็จะอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคาตลาดสำหรับการรับจำนำนี้ทำได้ 2 รูปแบบคือจำนำที่ยุ้งฉางเกษตรกรหรือจำนำที่โรงสีที่เข้าร่วมโครงการฯแบบแรกนั้น ธกส.จะเป็นผู้ดำเนินการโดยข้าวก็ฝากเกษตรกรไว้ ถ้าเป็นการรับจำนำที่โรงสีเกษตรกรก็ต้องขนข้าวมาที่โรงสีและก็จะได้รับเอกสารไปขึ้นเงินกับ ธกส.โรงสีก็มีหน้าที่สีข้าวส่งมอบแก่องค์การคลังสินค้า (อคส.) แต่ในความเป็นจริงข้าวเหล่านี้ก็ยังคงถูกเก็บไว้ที่โรงสีเพื่อรอเวลาจะระบายออกนอกประเทศหรือในบางกรณีก็มีการนำกลับมาใช้ในตลาดในประเทศก็ได้แล้วแต่นโยบายในอดีตที่ผ่านมาข้าวที่รัฐบาลเป็นเจ้าของผ่านโครงการรับจำนำมักจะถูกเก็บไว้จนเสื่อมสภาพหรือไม่ก็มีการล่องหนหายไปจากโกดังทำให้ไม่สามารถขายได้หรือถ้าขายได้ก็ได้ราคาต่ำมากดังนั้นโครงการรับจำนำข้าวจึงมักเกิดผลขาดทุนเสมอ การขาดทุนก็เนื่องจากซื้อแพงแต่ขายถูกหรือขายไม่ได้เลยก็มี



ในปี พ.ศ. 2551มีมูลค่าการส่งออกของข้าวหอมมะลิไทยที่มากที่สุดของปีคือเดือนมกราคมเพราะเป็นช่วงการเก็บเกี่ยวพอดีจึงมีการส่งออกข้าวมากที่สุดลองลงมาคือเดือนมีนาคมเพราะชาวนาจะทำนาอีกครั้งจึงมีการนำข้าวมาขายนำเงินไปลงทุน


การส่งออกข้าวทั้งปี 2551 ยังคงถือได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ดี เมื่อเทียบกับปี 2550 โดยคาดว่าจะสูงกว่า12360.4ตัน และราคาส่งออกเฉลี่ยทั้งปียังอยู่ในเกณฑ์สูง นับว่าเป็นปีทองของธุรกิจข้าวของไทย แต่ คาดการณ์ว่าในปี 2552 ตลาดการค้าข้าวลดลงจากในปี 2551 โดยมีมูลค่าเพียง 4776.4ตัน เนื่องจากการคาดการณ์ทั้งประเทศผู้ส่งออกข้าวและประเทศผู้นำเข้าข้าวต่างเร่งขยายปริมาณการผลิตเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร นอกจากนี้ ประเทศผู้ส่งออกข้าวต่างก็ไม่เร่งที่จะระบายข้าวออกสู่ตลาด เนื่องจากต้องการดึงราคาข้าวให้อยู่ในเกณฑ์สูง อย่างไรก็ตาม คาดว่าการแข่งขันในการส่งออกข้าวในปี 2552 จะรุนแรง การเจาะขยายตลาดข้าวนั้นต้องอาศัยทั้งกลยุทธ์ทางด้านราคาและคุณภาพข้าว ซึ่งหมายถึงว่าตลาดข้าวกลับไปเป็นตลาดของผู้ซื้อ หลังจากที่ในปี 2551 นั้นตลาดข้าวเป็นของผู้ผลิตข้าวจึงมีมูลค่าการส่งอกออกส่งกว่าทุกปี 


คาดว่าปริมาณการส่งออกข้าวปลายปี 2552 จะลดลงต่อเนื่องจากปี 2551 หลังจากที่ในปี 2550มีปริมาณข้าวปลายปีนั้นเพิ่มขึ้น โดยคาดการณ์ว่าปริมาณข้าวปลายปีในปี 2551/52 ที่มีปริมาณต่างกันเพียง348683ตันแต่เป็นการกลับกันของปริมาณกับมูลค่าของการส่งออกของข้าวหอมมะลิเนื่องจากประเทศไทยมีนบายไม่เร่งระบายข้าวเพราะต้องการตึงราคาตลาดโลกจึงมีมูลค่าการส่งออกปลายปี2550ลดลงแต่ปริมาณการส่งออกปลายปี2550เพิ่มขึ้นนี้เนื่องจากประเทศผู้ผลิตข้าวหลายประเทศเริ่มมีนโยบายไม่เร่งระบายข้าว โดยต้องการดึงราคาข้าวในตลาดโลกให้สูงขึ้น โดยไทยกำหนดมาตรการรับจำนำข้าว ส่วนเวียดนามและอินเดียกำหนดราคาส่งออกขั้นต่ำ สำหรับประเทศผู้นำเข้าข้าวก็เริ่มที่จะเพิ่มปริมาณสต็อก ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางด้านอาหารของประเทศ และรักษาเสถียรภาพราคาอาหารในประเทศไม่ให้เกิดปัญหาอัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น จากราคาสินค้าหมวดอาหารเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ปริมาณสต็อกข้าวที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นดังกล่าว คงจะเป็นปัจจัยที่มีผลกดดันต่อราคาข้าวในตลาดโลก รวมถึงราคาส่งออกของข้าวหอมมะลิไทยไทย เนื่องจากผู้ซื้อจะทราบว่าหลายประเทศมีสต็อกข้าวที่เพิ่มขึ้น 
                                                เอกสารอ้างอิง